ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Agriculture
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Agriculture
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (เกษตรศาสตร์)
ชื่อย่อภาษาไทย : B.Sc. (Agriculture)
ปรัชญา
เพื่อสร้างนักนวัตกร (Innovator) การเกษตรสมัยใหม่ ที่มีทักษะในการบูรณาการการเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมและการเกษตรสมัยใหม่ โดยใช้ความรู้และนวัตกรรมการเกษตรที่ทันสมัย และการเป็นผู้ประกอบการที่เข้าใจปัจจัยการผลิต และความต้องการของผู้บริโภค จากความเชี่ยวชาญ และทักษะแบบองค์รวม ด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และความคาดหวังของสมัยนิยมทางด้านเกษตรกรรมเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนทางด้านการเกษตร
วัตถุประสงค์
ผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพด้านการเกษตร การใช้เทคโนโลยีในการทำการเกษตร การเป็นผู้ประกอบการ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการทำงานเป็นทีม การใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมเกษตร เพื่อนำไปประกอบอาชีพต่าง ๆ
หลักสูตรประกอบด้วย 2 แขนงวิชา
การเรียนในชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 จะได้เรียนวิชาพื้นฐานทั้งทางวิชาด้านพืชและสัตว์
“โดยเน้นการเรียนภาคปฏิบัติให้ทำได้จริง”
1. แขนงวิชาพืชศาสตร์
เครือข่ายการพัฒนาทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
- กรมส่งเสริมการเกษตร (ส่วนกลางและภูมิภาค ทั่วประเทศ)
- Young Smart Farmer (ทั่วประเทศ)
- RES Q FARM
- วาสนาฟาร์มเมล่อน (ใหญ่สุดในประเทศ)
- โชคอนันต์ฟาร์ม (ธุรกิจข้าวครบวงจร รวมเครื่องเกี่ยวข้าว)
- เฟรชวิลล์ฟาร์ม (ผักไฮโดรฯ)
- แตะขอบฟ้า (ฟาร์มมะเขือเทศ)
- สมายฟาร์มกรุ๊ป (กลุ่มธุรกิจทุเรียน จ.จันทบุรี
- P&F Techno Co.LTD.Z (ส่งออกผลไม้)
- บริษัทที เอส เอ จำกัด อำเภอภูเรือ จ.เลย (ด้านเมล็ดพันธุ์พืช)
2. แขนงวิชาสัตวศาสตร์
เครือข่ายการพัฒนาทักษะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพ กรมปศุสัตว์
- ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์
- กลุ่มวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรมประมง
- กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กรมประมง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
- กลุ่มวิเคราะห์อาหารสัตว์และพืชอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
- กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
- สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ กรมปศุสัตว์
- สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์
- บริษัทซีพี (สัตว์น้ำ,สายสุกร)
- บริษัทเบทาโกร (นอร์ทปาร์ค) ส่วนธุรกิจสัตว์ปีกและสุกร
- จินตนาฟาร์ม (ไก่เนื้อ)
- เนื่องจำนงค์ฟาร์ม (ไก่เนื้อ,โรงฟักไข่)
- ฟาร์มโชคชัย นครราชสีมา
- ฟาร์มสุกร ไทยฟีด
- ฟาร์มเจ้าชายสัตว์
- ส่วนเวชภัณฑ์ บริษัท ยาสัตว์
- Vet Product
- อูเว่ฟาร์ม่า
- เบทเทอร์ฟาร์ม่า
- DKSH
- โรงพยาบาลสัตว์เกศรี
- โรงพยาบาลสัตว์กรุงเทพ-นนท์
- โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชันนนทบุรี
- มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
- หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- หรือเทียบเท่า