แผนพัฒนาคณะเกษตรและชีวภาพ
คณะเกษตรและชีวภาพมีนโยบายที่สำคัญตามพันธกิจซึ่งต้องดำเนินการได้แก่
แผนพัฒนาด้านการเรียนการสอน มีนโยบายที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนการสอนต้องใช้ขบวนการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ใช้ทักษะการปฏิบัติเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการเรียนการสอน
3. ผลักดันให้มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านเกษตรภายในคณะ
4. น้อมนำระบบเศรษฐกิจพอเพียงปรับใช้ในการเรียนการสอน
4. ต้องมีเวทีให้นักศึกษาใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เกิดประโยชน์กับสังคม มีจิตสาธารณะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
5. ให้ความสำคัญกับการฝึกให้นักศึกษาเคารพในกฏเกณฑ์ของสังคม
แต่ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของการศึกษาด้านการเกษตร คือการลดลงของจำนวนนักศึกษาที่ต้องการในการเรียนทางด้านสาขาการเกษตร ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นที่จะต้องปรับหลักสูตรให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดย
จุดเน้น การเกษตรในชุมชนเมือง ซึ่งมีจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรที่ผลิต แปรรูปอาหารให้กับประชากรในเมือง ทำให้เกิดสุนทรียภาพทางอารมย์ และทำให้มีอายุที่ยืนนาน
แผนพัฒนาด้านการวิจัย มีนโยบายที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. อาจารย์ทุกท่านต้องสร้างสรรค์งานวิจัยอย่างน้อยปีละ 1 เรื่องในสาขาที่เชี่ยวชาญ
2. ขบวนการวิจัยควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าไปมีส่วนร่วม
3. ใช้งานวิจัยสร้างองค์ความรู้และนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอน
4. ผลักดันให้มีการวิจัยในชั้นเรียนขึ้นในคณะ
5. ผลักดันและสนับสนุนให้อาจารย์นำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติ และนานาชาติ
จุดเน้น การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้การเกษตรและเทคโนโลยีการอาการเพื่อชุมชนเมืองซึ่งประกอบด้วย 3G ได้แก่
- Green energy การพัฒนาพลังงานทางเลือกเข้ามาใช้ในการผลิต
- Green environment การผลิต การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- Green management การจัดการเกษตร ระบบนิเวศเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
แผนพัฒนาด้านการบริการวิชาการ มีนโยบายที่มุ่งเน้นบริการวิชาการดังต่อไปนี้
1. ให้เน้นจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนหรือหน่วยงาน โดยใช้องค์ความรู้ของคณะได้แก่ นมแพะ เห็ดคอนโด ฯ
2. พื้นที่เป้าหมายในเบื้องต้น คือจังหวัดชัยนาท พื้นที่ที่คณาจารย์มีผลงานวิจัยหรือเครือข่าย กรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งคณะมีโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารเป็นแหล่งเรียนและสำหรับบริการชุมชน
3. ต้องมีการสร้างเครือข่ายในพื้นที่เป้าหมาย
4. ต้องสร้างความยั่งยืนในการบริการในพื้นที่เป้าหมาย
จุดเน้น ให้บริการด้านการเกษตร ด้านเทคโนโลยีการอาหาร และจำเป็นที่จะต้องสำรวจความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายเป็นสำคัญ และต้องมีการบูรณาการใน 3 ลักษณะได้แก่
1.การบูรณาการบริการวิชาการกับงานวิจัย
2. การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน
3. การนำปัญหาที่พบจากการบริการวิชาการสู่การวิจัยเพื่อเป็นคำตอบให้กับชุมชนเป้าหมาย
แผนพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม มีนโยบายที่สำคัญดังต่อไปนี้
1. ให้เน้นจัดกิจกรรมศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
2. ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในการจัดกิจกรรมเพื่อคงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมไทย
3. สร้างกิจกรรมหลักที่นักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
4. สอดแทรกศิลปวัฒนธรรมไทยในขบวนการเรียนการสอน
นอกจากนี้ยังมีการดำเนินการโครงการตามแนวพระราชดำริ ซึ่งเป็นภาระกิจที่สำคัญตามพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏโดยประสานงานกับโครงการอพสธ. ซึ่งงบประมาณสนับสนุนมาจากส่วนกลางและมีพื้นที่เป้าหมายที่จังหวัดชัยนาท
นโยบายกิจกรรมนักศึกษาในภาพรวม
กิจกรรมนักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการจัดการเรียนการสอนที่ต้องมีการจัดควบคู่กันไปกับกิจกรรมวิชาการและจะต้องครอบคลุมถึงด้านต่างๆ 5 ด้านที่สำคัญได้แก่
1. กิจกรรมด้านวิชาการ
2. กิจกรรมด้านกีฬา
3. กิจกรรมด้านนันทนาการ
4. กิจกรรมด้านบำเพ็ญประโยชน์และสิ่งแวดล้อม
5. กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม
นอกจากนี้กระทรวงศึกษาธิการยังได้เห็นความสำคัญเร่งด่วนอีกประการหนึ่งจึงได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาเพิ่มเติมให้กับสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาดำเนินการคือนโยบาย 3 D ที่ประกอบด้วย
1. Drug free คือต้องควบคุมป้องปรามยาเสพติด และทั้งนี้รวมถึงสิ่งเสพติดอื่นๆด้วยเช่นติดการพนัน การติดเกมส์
2. Decency คือการดำรงไว้ซึ่งจริยธรรม วัฒนธรรมความเป็นไทย
3. Democracy คือการให้ความสำคัญกับระบอบประชาธิปไตยให้กับนักศึกษาทั้งนี้ควรจะรวมในเรื่องของการเคารพสิทธิของผู้อื่น และเคารพกติกาของสังคม รู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนเองที่พึงมีและพึ่งกระทำ
กลยุทธที่นำไปใช้ในการพัฒนานักศึกษาคณะเกษตรและชีวภาพนั้นดำเนินภายใต้กรอบแนวคิด Year Based
พัฒนานักศึกษา ปี 1 (พัฒนาจากนักเรียนสู่นักศึกษา)
พัฒนานักศึกษา ปี 2 (ย่างก้าวเข้าสู่วิชาชีพ)
พัฒนานักศึกษา ปี 3 (วิสัยทัศน์ในวิชาชีพ)
พัฒนานักศึกษา ปี 4 (สู่ความเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์)
นโยบายในการจัดสรรงบประมาณ
ตณะเกษตรและชีวภาพได้รับมอบนโยบายในการจัดสรรงบประมาณโดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์กับนักศึกษาโดยตรงและมากที่สุดซึ่งนโยบายของมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นสัดส่วนได้ดังต่อ
ไปนี้
1. งบประมาณด้านการเรียนการสอน ร้อยละ 60
2. งบประมาณในด้านการบริหารจัดการคณะ ร้อยละ 20
3. งบประมาณที่เหลือให้ใช้กับพันธกิจอื่นๆเช่น บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น